Leadership Development Program
Leader Skill
บริการพัฒนาและออกแบบพัฒนาการด้าน ภาวะผู้นำ เพื่อให้ได้ผู้นำองค์กรในแต่ละด้าน ในโลกของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว พนักงานทุกคน, หัวหน้างาน , ผู้บริหาร จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ฝึกฝน พัฒนาตนเอง เพื่อนำพาตนเอง นำพาทีม นำพาองค์กร ให้เดินไปสู่เป้าหมายที่ท้าทาย และ สำเร็จได้อย่างลุล่วง
เราจึงรับอาสาเป็น “พี่เลี้ยง” เพื่อให้ได้ผู้นำแบบมืออาชีพ ในแต่ละด้านในทุกมิติ เพื่อปลุกสร้างนิสัยความสำเร็จในการเป็นหัวหน้างานที่ดีของลูกน้อง มีความเป็นมืออาชีพ ในการทำงาน นำพาองค์กรได้เสริมสร้างทัศนคติแนวคิดแบบคนทำงานมืออาชีพ มีทักษะในการบริหารงาน บริหารคน แก้ปัญหาการทำงานอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างผลงานที่สะท้อนคุณค่า และ สร้างระบบงาน พัฒนาคน ได้อย่างยั่งยืน
หลักการและเหตุผล
1 ในปัญหาอันดับต้น ๆ ขององค์กร คือ ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล หลายองค์กรมักพบประเด็นการดูแลพนักงานใหม่ และ การสอนงาน ในหลายองค์กรไม่เคยมีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) และ ในหลายองค์กรมีระบบพี่เลี้ยง แต่ ไม่ประสบผลสำเร็จในระบบนั้น
ดังนั้น ระบบพี่เลี้ยง (Mentorion) จึงเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรอีกวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิผลสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานของทีมงาน โดยผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะมีบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อคอยสอนงาน และแนะนำแนวทางการปฏิบัติงานให้บุคลากรในทีมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนั้นแล้วยังทำให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นแล้ว ทำให้ลดการลาออกของพนักงาน และกระตุ้นให้เกิดการทำงานแบบทีมเวิร์คมากขึ้นด้วย อันจะส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้ หลักสูตรเทคนิคการเป็นพี่เลี้ยงมืออาชีพ จึงเป็นหลักสูตรสำคัญในการเสริมสร้างให้ “ผู้ที่ต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงพนักงาน” ตระหนักถึงคุณค่าของการเป็นผู้สอนงานด้วยความภาคภูมิใจ เต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ “พี่เลี้ยงสอนงาน ถ่ายทอดงาน และแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตในที่ทำงาน” และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้สอนงานมืออาชีพได้ อันจะเป็นการสร้างพื้นฐานของระบบการพัฒนาบุคลากรที่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่องค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์
- “พี่เลี้ยง” ที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้สอนงาน ถ่ายทอดงาน และแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตในที่ทำงานให้กับพนักงานใหม่สามารถปรับตัวได้
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นพี่เลี้ยง สร้างความภาคภูมิใจ และความเต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่ “พี่เลี้ยง”
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้และฝึกทักษะการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อร่วมกันสร้างบรรยากาศสันติสุขในการทำงานให้เกิดขึ้น
- เพื่อให้ผู้ที่รับบทพี่เลี้ยงมีแนวคิด สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างผลการปฏิบัติงาน และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเกิดขึ้นแบบยั่งยืน
ระยะเวลา : 1วัน
* และ กรณีต้องการสร้างระบบพี่เลี้ยงแบบเข้มข้นเรามีโปรแกรมที่ปรึกษาวางระบบ
กลุ่มเป้าหมาย : หัวหน้างาน / ผู้จัดการ / พนักงานที่เป็นพี่เลี้ยง
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 20 ท่าน+++
กลยุทธ์ในการฝึกอบรม :
- กิจกรรมการเรียนรู้ , บรรยาย
- แบบฝึกหัด และ WORK SHOP Role Play
- Powerpoint
- อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
หัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และการเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ความสำคัญของการเป็นพี่เลี้ยง
- หลุมพรางทางความคิดที่มีต่อ “พี่เลี้ยง”
- กระบวนการ ก้าวข้ามหลุมพรางทางความคิด
- คุณค่าของ “พี่เลี้ยง” ในองค์กร บทบาท และ หน้าที่
ส่วนที่ 2 : ประโยชน์ของระบบ “พี่เลี้ยง” ในองค์กร
- การดูแลพนักงานใหม่และเก่า แบบ มีพี่เลี้ยงและไม่มี
- เทคนิคการจัดการระบบพี่เลี้ยง
- ปัญหาทุกเรื่อง “พี่เลี้ยง” ช่วยได้
ส่วนที่ 3 : Mentoring Competency
- คุณสมบัติที่ดีของ “พี่เลี้ยง” มืออาชีพ
- ประสบการณ์ ขององค์กร สร้างพี่เลี้ยงมืออาชีพได้
- การสะท้อนกระบวนการผ่านเรื่องเล่า
ส่วนที่ 4 : Tool set Mentoring
- เรียนรู้เครื่องมือ ของ “พี่เลี้ยง” มืออาชีพที่จำเป็นต้องรู้
- เทคนิคการเป็น”พี่เลี้ยง”ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
- แนวทาง แผนการเป็น “พี่เลี้ยง” ในองค์กร อย่างเหมาะสม
กิจกรรรมและ Workshop สำหรับการฝึกอบรม
WORKSHOP ผลที่คาดว่าจะได้รับ
Workshop 1 : Expectation
- วิทยากรอธิบายแนวทางการทำกิจกรรม
- ผู้เข้าอบรมร่วมกิจกรรมและนำเสนอความเข้าใจเรื่อง ทัศนคติ / ความคิด / ความเชื่อ
- ทำความเข้าใจเรื่อง ทำไมต้องมีพี่เลี้ยง
- ได้แนวทางในการนำไปใช้ในการทำงาน
Workshop 2 : สร้างพื้นที่การเปลี่ยน “พี่เลี้ยงมืออาชีพ”
- วิทยากรอธิบายแนวทางการดำเนินการ
- ผู้เข้าอบรมเรียนรู้บทบาท,หน้าที่ของ พี่เลี้ยง
- ทักษะในการเป็นพี่เลี้ยงมืออาชีพ
Workshop 3: เขาวานให้หนูเป็น “พีเลี้ยง”
วิทยากรอธิบายแนวทางการ เป็น “พี่เลี้ยง”
- ผู้เข้าอบรมฝึกวิเคราะห์ตนเอง ว่า เป็นพี่เลี้ยงมืออาชีพ & มีอาชีพเป็นพี่เลี้ยง
- ผู้เข้าอบรมได้แนวทางในการเป็น “พี่เลี้ยง” มืออาชีพ
Workshop 4: อาวุธ(ไม่)ลับ ของ “พี่เลี้ยง”
- วิทยากรอธิบายเครื่องมือต่าง ๆ ในการเป็น “พี่เลี้ยง”
- ผู้เข้าอบรมฝึกฝนการใช้เครื่องมือ
- ผู้เรียนได้แนวทางเพิ่มเติมในการเป็น”พี่เลี้ยง” ที่ดีพร้อมนำไปใช้ได้จริง
- จบการสัมมนา ถาม&ตอบ
หลักการและเหตุผล
สำหรับหัวหน้างานหรือผู้จัดการยุคใหม่ ในแต่ละวันนั้น ล้วนมีเรื่องราวเข้ามาให้ต้องรับรู้ ต้องคิด ต้องตัดสินใจ ต้องบริหารจัดการ ทั้งงานประจำที่ต้องปฏิบัติ ทั้งงานที่เป็นงานพิเศษ รวมถึงปัญหางานที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้หมดสิ้นไป
ดังนั้น ทักษะหรือศิลปะในการบริหารงาน การบริหารคน การสั่งงาน การมอบหมายงาน และการติดตามงาน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหัวหน้างาน เพราะทักษะในการมอบหมายงานและการติดตามงานที่ดีนั้นก็จะส่งผลให้งานสำเร็จได้ลุล่วงตามเป้าหมายได้อย่างไม่มีปัญหา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างานหรือผู้จัดการยุคใหม่ต้องเรียนรู้ สนใจ และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นทักษะที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีของหัวหน้างานยุคใหม่
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการบริหารลูกน้องที่มีความแตกต่างกัน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการวางแผนงานและการมอบหมายงานอย่างชาญฉลาด
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้เทคนิค เครื่องมือ และวิธีการต่าง ๆ ในการมอบหมายงาน การสั่งงาน และ การติดตามงาน
หัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และการเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ความสำคัญของการบริหารจัดการ
- ทำไมต้องจัดการ ทำไมต้องบริหาร
- คุณสมบัติของนักบริหารจัดการที่ดี
ส่วนที่ 2: การวิเคราะห์ประเภทของคนและความต้องการของคน
- การ Scan คน
- การบริหารคน ด้วยการจำแนกตามสัตว์ 4 ทิศ
- การบริหารคน ด้วยการจำแนกตามบัว 4 เหล่า
- การบริหารคน ตามแบบผู้นำตามสถานการณ์ และหลักการนำไปใช้
- การวิเคราะห์ความต้องการของคน (เทคนิคจิตวิทยาการบริหารคน)
ส่วนที่ 3: ศิลปะการบังคับบัญชา การสั่งงาน การมอบหมายงาน และการติดตามงาน
- กระบวนการมอบหมายงาน สั่งงาน และการติดตามงาน
- เทคนิคในการสื่อสารและการสื่อความที่ดี
- เทคนิคในการสั่งงาน มอบหมายงาน และการติดตามงานที่ดี
- เทคนิค การฟีดแบค ด้วยเทคนิค 4S เพื่อให้การทำงานดีขึ้น
- การมอบหมายงานสำคัญและการทวนสอบความเข้าใจ
- การทวนสอบความคืบหน้าของงาน
- การส่งเสริมให้ลูกน้องมีทักษะในการรายงาน ประสานงาน และการปรึกษาหารือที่ดี
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้จัดการ
- หัวหน้างาน
รูปแบบการฝึกอบรม
- ระยะเวลารวม 1 วัน (6 ชั่วโมง)
- บรรยาย และกิจกรรม Workshops Role Play
- อภิปรายแลกเปลี่ยน
หลักการและเหตุผล
หากคุณกำลังเผชิญปัญหา การสอนหน้างานที่วัดผลลัพธ์ของความสำเร็จไม่ได้ ไม่รู้สอนอะไร และไม่รู้จะสอนอย่างไร หลักสูตรนี้คือทางออกสำหรับคุณ
หลายครั้งที่การสอนไม่สามารถบอกได้ว่า ผู้เรียนเรียนแล้วได้อะไร เรียนเพื่ออะไร และผลลัพธ์ของการเรียนรู้นั้นเป็นอย่างไร สาเหตุมาจากการไม่ได้ตั้งเป้าหมายของการสอนหน้างานที่ชัดเจน ทำให้การสอนขาดประเด็นหลัก หรือเนื้อหาสำคัญที่ผู้เรียนจะพลาดไม่ได้ และไม่สามารถกำหนดตัวชี้วัดผลการเรียนรู้ได้จริง เพราะเรียนทุกอย่างแต่จับทิศทางและหลักการสำคัญไม่ได้
หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมในการทำงานที่ผู้เรียนพึงมี พัฒนาทักษะการสอนหน้างานด้วย 4 ขั้นตอนของการทำ Job Instruction พร้อมฝึกเขียนแผน OJT ตั้งแต่ในห้องเรียน เพื่อให้ทุกการเรียนรู้มีผลลัพธ์ และทุกผลลัพธ์สามารถกำหนดตัวชี้วัดได้จริง
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีพลังในการทำงาน
- มีแรงบันดาลใจในการพัฒนางานของตน กล้าตั้งเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะทำเป้าหมายให้บรรลุ และมีความรู้ที่ถูกต้องในการสอนงานและการมอบหมายงาน
- สร้างจิตสำนึกในการทำงานร่วมกัน และการเป็นผู้นำที่สามารถจัดการตนเองได้และเสริมสร้างทัศนคติด้านบวกในการทำงานและการใช้ชีวิต
- เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานในการทำงานร่วมกันให้ดีขึ้น
- เพื่อสร้างบรรยากาศสันติสุข ความรื่นรมย์ ในการทำงาน
- ระยะเวลา : 1 วัน
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานทุกระดับ / หัวหน้างาน และผู้บริหารระดับสูง
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 20-25 ท่าน
กลยุทธ์ในการฝึกอบรม :
- เกมส์การเรียนรู้ /กิจกรรม
- การนำเสนอด้วยภาพยนตร์และเกมส์
- แบบฝึกหัด และ WORK SHOP
- Powerpoint
- อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เนื้อหา
- การเรียนรู้ความหมายของการสอนงานและความจำเป็นในการสอนงาน
- การมองเห็นคุณค่าของผู้อื่นและเห็นประโยชน์ของการทำงานร่วมกันในการสอนงาน
- การเรียนรู้แบบต่างๆอละแนวทางในการพัฒนาการการเรียนรู้ในการสอนงาน
- ศิลปการสื่อสารในการสอนงาน
- การสร้างพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพการทำงานในองค์กรได้อย่างมืออาชีพ
- การรู้จักตั้งเป้าหมายให้ตนเองเป็น และเรียนรู้ การจัดทำแผนการสอนงานและจัดระบบการสอนงาน ออกแบหลักสูตร และกำหนดเนื้อหาได้
- กระบวนการสอนงาน OJT ก่อนการดำเนินการสอน ระหว่าง และหลังการสอน
รูปแบบ และวิธีการนำเสนอ
- บรรยาย
- กรณีศึกษา พร้อมภาคปฏิบัติ Role Play
- การวิเคราะห์แบบกลุ่ม / วิเคราะห์แบบเดี่ยว
เนื้อหาหัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และ การเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ผู้สอนงานที่ดี
- ความสำคัญของการสอนงาน
- คุณสมบัติของผู้สอนงานที่ดี
- แนวทางการสอนงาน
ส่วนที่ 2: Process 4 ด้านของการสอนงาน
- หลุมพรางของการสอนงาน
- การทำ Job Instruction
- วิธีการสื่อสาร และ พฤติกรรม ที่ทำให้การสอนงานดีขึ้น
ส่วนที่ 3: การติดตามผลการสอนงาน Follow Up
- ทำไมต้องติดตามผล
- วิธีการติดตามผล
ส่วนที่ 4: เทคนิคการเขียน OJT
- การเตรียมแผนการสอนงาน
- เทคนิคการเขียน OJT
- ฝึกปฏิบัติตามโจทย์อย่างเข้มข้น
กิจกรรรมและ Workshop สำหรับการฝึกอบรม
WORKSHOP ผลที่คาดว่าจะได้รับ
Workshop 1 : วิเคราะห์กระบวนการสอนงาน
- คุณสมบัติของผู้สอนงานที่ดี
- องค์ประกอบของการสอนหน้างาน JI-JM-JR
- การวิเคราะห์ KUSA เพื่อการสอนงาน
- ได้แนวทางในการนำไปใช้เชื่อมโยงในการทำงาน
Workshop 2 : 4 Process to Job Instruction
- วิทยากรอธิบายแนวทางการดำเนินการ
- ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์พร้อมทำบททดสอบ
- เรียนรู้แนวทางการทำ Prepare / Present / Try Out / Follow Up
- ได้วิธีการสอนงานไปเชื่อมโยงในการทำงานอย่างยั่งยืน
Workshop 3: Follow Up to Success
- วิทยากรอธิบายแนวทางการ Follow Up
- ผู้เข้าอบรมฝึกFollow Up ตาม ขั้นตอน
- หลุมพรางของการ Follow Up ที่ทำแล้วไม่ได้ผล
- ได้แนวทาง Follow Up ไปรับใช้ในการทำงาน
Workshop 4 : Process to Creative OJT
- เรียนรู้วิธีเตรียมแผนการสอนงานอย่างเป็นขั้นตอน
- ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมเตรียมแผนการสอน
- ผู้เข้าอบรมฝึกอบรมปฏิบัติแบบเข้มข้น
- ผู้เรียนได้แนวทางในการนำไปใช้เชื่อมโยงในการทำงาน
วิทยากรอธิบายสรุปการเรียนรู้
- กระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมช่วยกันนำเสนอคุณสมบัติที่ดีของหัวหน้างานเชื่อมโยง กับคุณสมบัติที่มีในตัวเอง และ เพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปพร้อมแนวทางในการปฏิบัติ
- ผู้เรียนได้แนวทางเพิ่มเติมในการเป็นหัวหน้าที่ดี
-ถาม-ตอบ จบการสัมมนา
หลักการและเหตุผล :
การที่องค์กรต่างๆ ได้นำเอาระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการบริหารผลงาน (Performance Management System) นั้น ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายองค์กร การกระจายเป้าหมายองค์กรสู่หน่วยงาน การกระจายเป้าหมายไปสู่พนักงานแต่ละตำแหน่งงาน และการเชื่อมโยงถึงระบบการประเมินผลงานประจำปีของพนักงาน ถือเป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญต่อการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
แต่ถ้าองค์กรต้องการจะให้ระบบการบริหารผลงานประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรในระดับหัวหน้างาน ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการออกแบบระบบการประเมินผล การรายงานผล และเทคนิคในการ Feedback ผลการประเมินอย่างสร้างสรรค์ ควบคู่กันไปด้วย
หลักสูตรนี้จึงนำเทคนิค เคล็ด(ไม่)ลับต่าง ๆ มาเสริมสร้างให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถยกระดับความสัมพันธ์ของหัวหน้างานและพนักงานให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับระบบการประเมินผล
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานได้ตรงตามเป้าหมายขององค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบหัวข้อและระบบการประเมินผลงานที่ดีได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการ Coaching & Give Feedback อย่างสร้างสรรค์
- สามารถนำไปใช้งานได้จริง
กลุ่มเป้าหมาย :
- หัวหน้างาน / ผู้จัดการ / ผู้บริหาร
หัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1: ความสำคัญของระบบ Performance Management System
- เป้าหมายในการทำงานสัมพันธ์กับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรอย่างไร
- การกำหนดเป้าหมายด้วย PQCDSS
ส่วนที่ 2: การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การประเมินผลงานจากเป้าหมายองค์กร
- การประเมินผลงานจากเป้าหมายหน่วยงาน
- การประเมินผลงานจากเป้าหมายประจำตำแหน่ง (Job KPI)
- การประเมินผลงานจากความสามารถ (Competency)
- การกำหนดเกณฑ์และแบบฟอร์มในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การ Feedback ผลการประเมินในเชิงบวกหรือเชิงสร้างสรรค์
- การวิเคราะห์ความแตกต่างของคน (สัตว์ 4 ทิศ) เพื่อประสิทธิภาพในการ Feedback ที่ดียิ่งขึ้น
- การดำเนินการหลังการประเมินผล
จุดเด่นของหลักสูตร :
- เรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อกระตุ้นประสิทธิภาพในการเรียนรู้และความสนใจของผู้เรียน
- ใช้กรณีศึกษาจริงขององค์กรเพื่อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้หลังการฝึกอบรม
- เชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตจริงของผู้เรียน เพื่อง่ายต่อการเข้าใจและการจดจำ
- ใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
- เน้นทั้งวิธีคิด หลักคิด และเครื่องมือสำหรับการประยุกต์ใช้ (Tools) เพื่อความยั่งยืน
กิจกรรรมและ Workshop สำหรับการฝึกอบรม :
WORKSHOP ผลที่คาดว่าจะได้รับ
Workshop 1 : การออกแบบระบบการประเมินผลงาน
- ทักษะในการออกแบบใบประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละระดับ
Workshop 2 : ความแตกต่างของ “คน”ในองค์กร
- เข้าใจคน เข้าใจความแตกต่างธรรมชาติ ของคนทำงานในองค์กร
- เทคนิคการ Feedback ได้ตรงจริตคนที่ทำงานกับเรา
- เทคนิคการบดปัญหาหรือข้อบาดหมางทางใจ ก่อนการ Feedblack
เทคนิคเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
Workshop 3 : การ Feedback ด้วยเทคนิค 4 S
- Process to Success Feedback 4 S
- ทักษะการ Feedback ในสถานการณ์จริง
- แนวทางการ Feedback แบบยั่งยืน
จบการสัมนาQ & A
เป็นหลักสูตรที่การรันตีการนำ DNA ขององค์กรมาใช้ได้จริง 100%
วัตถุประสงค์:
- เพื่อให้พนักงานในระดับหน้างาน หรือ ผู้จัดการขึ้นไปเข้าใจในะดับการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม พร้อม ผลักดันทีมงานสู่เป้าหมายหลักขององค์กรได้
- เพื่อสร้าง DNA ที่ดีที่เหมาะสมตามที่องค์กรคาดหวัง ติดตัวในตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างต่อผู่ร่วมงานต่อไป เพื่อให้ทำให้ตัวเองและทีมงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างเต็มความสามารถ
- เพื่อเรียนรู้วิธีการและแนวคิดในการสร้างแรงผลักดันในตัวเองและทีม ผ่าน DNA องค์กร ให้ทีมงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และร่วมกันลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- เพื่อให้พนักงานระดับหน้างาน หรือผู้จัดการขึ้นไป เรียนรู้แนวทางในการดึงศักยภาพพนักงานในตนเองและทีมออกมา
- เพื่อให้หัวหน้างาน และ ผู้บริหาร ได้เรียนรู้ทักษะ วิธีการ กระบวนการ ในการสร้าง DNA แบบยั่งยืนในองค์กรให้ตนเองและคนรอบข้าง
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานระดับหัวหน้างาน และ ผู้บริหารระดับสูง
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม :20 ท่าน
กลยุทธ์ในการฝึกอบรม :
- กิจกรรมการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมผ่าน DNA องค์กร
- Dialogue
- แบบฝึกหัด และ WORK SHOP Action Learning Role play
- Powerpoint
- อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Reflection)
หัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และการเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ความสำคัญของการสร้าง DNA องค์กร ( วัฒนธรรมองค์กร)
ทำไมต้องสร้าง DNA ของคนในองค์กร
- กระบวนการ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้วยการ ทำงานเป็นทีม สำคัญอย่างไร
ส่วนที่ 2 : กฎเหล็กสำคัญในการสร้าง DNA องค์กร
- เทคนิคสร้าง DNA ของคนในองค์กรด้วย กฎ 2 ข้อ
- Process to Success ในการสร้าง DNA องค์กร
ส่วนที่ 3 : กระบวนการสร้าง DNA ด้วย Action Learning
- เทคนิคสร้าง DNA ด้วยกระบวนการ Action Learning
- ฝึกฝนการใช้ DNA Competency ขององค์กร
- การสะท้อนด้วยการตั้งคำถามผ่าน DNA Competency
กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานทุกระดับ , หัวหน้างาน ผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง
รูปแบบการฝึกอบรมและการเรียนรู้
- ระยะเวลา 6 ชั่วโมง ( 1 วัน) ในระดับ พื้นฐาน
- ระยะหวังผลแบบการันตี 100 % ระยะเวลา 30 ชั่วโมง ( 5วัน/ 5 ครั้ง)
- บรรยาย โค้ชชิ่ง และกิจกรรม Workshops
รูปแบบการประเมินผล ระยะสั้นและระยะยาว (ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง)
- ประเมินจากการสังเกตระหว่างเข้าร่วมโปรแกรม
- ประเมินจากคะแนน Self-Assessment / HRM & HRD
- ประเมินจากจำนวนปัญหาที่ลดลง
- ประเมินจากผลความสำเร็จของเป้าหมายงาน
- ประเมินจากบรรยากาศในการทำงานของทีม
จุดเด่นของ กิจกรรม “ Action Learning culture” ที่เราการันตี 100%
ว่าด้วยเรื่อง Action Learning กับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร
- กระบวนการ Action Learning เป็นกระบวนการที่มีจุดแข็งด้วยการใช้ DNA ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น Integrity , Trust Change และ Leadership Competencies ที่สำคัญการปลูกฝัง DNA เพื่อนำไปสร้างพฤติกรรมการทำงานให้กับพนักงานอย่างได้ผลจนเกิดผลลัพธ์ในแบบที่องค์กรต้องการ แบบเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
- องค์กรไหนที่มีปัญหาเรื่องการสร้าง DNA ของคนในองค์กร การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร ที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้จริง สิ่งเหล่านี้จะหมดไป ถ้าได้เรียนรู้ไปกับกระบวนการ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อ แก้ปัญหาเหล่านี้
- ว่าด้วย Process ของ Action Learning
จากการทำงานกับบุคลากรในองค์กร ที่ผมเป็นที่ปรึกษา ตามองค์กรที่ผ่านกระบวนการนี้ สิ่งที่เราจะเห็น ทีมจะเห็น องค์กรจะเห็น คือ
- Collaboration Process to Change
มันเป็นการใช้กระบวนการทางพฤติกรรม ทางการอยู่ร่วมกัน ของทำงานมาใช้ในกระบวนการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ ของการพัฒนาทีม หรือ พัฒนาองค์กร ตามที่ต้องการ - Fairness
การมีส่วนร่วมของทุกคนในทีม ที่ทุกคนสามารถรู้สึกได้ถึงการมีความเท่าเทียมกันเป็นอย่างดีในการทำงานร่วมกัน และเกิดการยอมรับในการทำงานร่วมกัน - Practical
ไม่มีการเรียนรู้ใดที่ไม่มีการลงมือทำ และไม่มีการลงมือทำใดที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ มันจึงไม่ใช่แค่กิจกรรม การเล่นเกมส์ เพราะมันไม่ใช่เกมส์ แต่มันละเอียดมากกว่าที่จะคิดว่าเป็นเกมส์ เป็นกระบวนการที่สามารถทำให้ทุกคนในทีมเกิดกระบวนการ คิด และ เกิดการลงมือปฏิบัติ เพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกันได้อย่างลงตัว ทั้งในรูปแบบบุคคล ทีม และ องค์กร - Reflection
จุดเด่นอีกจุดหนึ่งในกระบวนการ คือ กระบวนการติดตามผล และ การสะท้อนผลที่เกิดขึ้นจากความคิดในขณะอยู่ในกระบวนการ และ การลงมือปฏิบัติหลังจากจบกระบวนการ เพื่อให้ทีมทุกคนเกิดการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงแบบเห็นผลลัพธ์ ทั้งในเชิงพฤติกรรมส่วนตัว และ พฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในองค์กร - Space Safe area
เป็นกระบวนการที่ลดความขัดแย้ง เพิ่มพื้นที่ความปลอดภัยทางด้านจิตใจแบบ รวดเร็ว กว่า กระบวนการอื่น ๆ แบบไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นหัวใจของการแก้ปัญหาและการทำงานเป็นทีม
- Collaboration Process to Change
กระบวนการ Action Learning จึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาและสามารถทำให้ทีมเกิดการเรียนรู้ พร้อมกันทั้งทีม และ สามารถ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปด้วย ที่ทำให้ทีมมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา ทำให้ทีมเข้าใจความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น เห็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาจากมุมมองที่ต่างกัน และเป็นกระบวนการที่สร้างความเชื่อใจ และไว้วางใจกับทีมมากขึ้น นำไปสู่ การสร้างองค์กรจัดการตนเอง แบบยั่งยืนได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นเรื่องอะไรกระบวนการนี้จะช่วยคุณได้ พร้อมเรียนรู้การทำงานไปทีม ด้วยกระบวนการที่ช่วยให้การแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องง่าย
จากประสบการณ์การการทำงานด้านวิทยากร และ ที่ปรึกษา ด้านการพัฒนาคนและองค์กร สิ่งที่รับรู้และ โดนคาดหวังมาตลอดแบบสม่ำเสมอ จากหน่วยงานองค์กรและผู้บริหารองค์กร คือความต้องการแบบเบ็ดเสร็จขององค์กรในการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒนาคน ของทีมงานทุกคนในองค์กร และคาดหวังเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการดำเนินการในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย คือความต้องการในเชิงผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้น ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งใน “เชิงพฤติกรรม” ของคนทำงานในองค์กร และ การเปลี่ยนแปลงองค์กรในแบบยั่งยืน
Action Learning Culture จึงได้รับการตอบรับในเชิงรูปธรรมแบบเห็นผลลัพธ์จับต้องได้ ทั้งพนักงานในองค์กรและทีมผู้บริหารที่เข้าร่วมการเรียนรู้ โดยผ่านการฝึกอบรมและด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร
การให้ความสำคัญกับทุกคนที่มีส่วนร่วมในทีม การแสวงหาจุดร่วม เพื่อสร้างผลลัพธ์จากการร่วมมือปฏิบัติด้วยการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เกิดเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการทำงาน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีคุณค่าของทุกคนในทีม
กระบวนการ Action Learning เป็นวิธีการแก้ปัญหาและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบการเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถทำให้ทีมเกิดการเรียนรู้ พร้อมกันทั้งทีม และ สามารถ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปด้วย ที่ทำให้ทีมมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา ทำให้ทีมเข้าใจความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น เห็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาจากมุมมองที่ต่างกัน และเป็นกระบวนการที่สร้างความเชื่อใจ และไว้วางใจกับทีมมากขึ้น นำไปสู่ การสร้างองค์กรจัดการตนเองแบบยั่งยืนได้
เมื่อมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นในการสร้างทีมและการบริหารวัฒธรรมองค์กร เราจึงเน้นกระบวนการให้เรียนรู้ร่วมกันแบบทีม หลายคนอาจกำลังคิดว่า…รอแก้ปัญหาพร้อมกับทีมจะต้องรับฟังหลายความเห็น และทำให้เสียเวลามากขึ้นกว่าเดิมไหม ปัญหามาปุ๊บ แก้ไปคนเดียว น่าจะเร็วกว่า แต่จะมีประโยชน์อะไร ถ้าปัญหาที่ถูกแก้ไปแล้วจากเราคนเดียว ไม่ได้สร้างการเรียนรู้ให้กับทีม สร้างวัฒนธรรมที่ดีงามจากทีม และอาจทำให้เกิดปัญหานั้นซ้ำอีกครั้งก็ได้
Action Learning Culture กระบวนการที่ทำให้ทีมมีส่วนร่วมเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี และมีความสามารถในการจัดการปัญหาที่ดี ทำให้ทีมเข้าใจความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น เห็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาจากมุมมองที่ต่างกัน และเป็นกระบวนการที่สร้างความเชื่อใจ และไว้วางใจกับทีมมากขึ้น
Action Learning Culture จึงเป็นกระบวนการที่มีจุดแข็ง ด้านการใช้ DNA ขององค์กร และ Leadership Competencies เพื่อนำไปสร้างพฤติกรรมการทำงานให้กับพนักงานอย่างได้ผล จนเกิดผลลัพธ์ในแบบที่องค์กรต้องการ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารและทีมงานทุกคนในองค์กร Trust the TEAM, Trust the Process.
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค4.0 มีพลังในการทำงาน
- มีแรงบันดาลใจในการพัฒนางานของตน ในฐานะวิทยากรภายในองค์กร กล้าตั้งเป้าหมายและมุ่งมั่นที่จะทำเป้าหมายให้บรรลุเพื่อตนเองและองค์กร
- สร้างจิตสำนึกและสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน และบทบาทวิทยากรในองค์กร
- เพื่อเข้าใจเป้าหมายของทีมและองค์กรได้อย่างถ่องแท้
- เพื่อเข้าใจหลักการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปใช้ ในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
- เพื่อเสริมสร้าง เพิ่มพูนและพัฒนาทักษะให้แก่พนักงานที่เป็น Trainer ได้มีความรู้และความชำนาญ ในการสอนมากยิ่งขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้กับการเป็นวิทยากรในการจัดรูปแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา และกลุ่มผู้เรียน
- เพื่อสร้างบรรยากาศสันติสุข ความรื่นรมย์ ในการทำงาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทำหน้าที่วิทยากรได้อย่างมืออาชีพ
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจหลักการทั้งด้านความคิดและการปฎิบัติในหน้าที่วิทยากรได้ดียิ่งขึ้นและเลือกเครื่องมือการฝึกอบรมไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
ระยะเวลา : 2 วัน ( 12 ชั่วโมง)
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงาน /หัวหน้างาน พนักงานที่เป็น Trainer
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 20 ท่าน+++
กลยุทธ์ในการฝึกอบรม :
- การนำเสนอด้วยภาพยนตร์ / การบรรยาย
- Powerpoint
- อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- Workshop Role Play แบบเข้มข้น
เนื้อหาหัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และ การเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ผู้สอนงานที่ดี
- ความสำคัญของการสอนงาน
- คุณสมบัติของผู้สอนงานที่ดี
- แนวทางการสอนงาน
ส่วนที่ 2: สมรรถนะของวิทยากรภายในองค์กร
- หลักจิตวิทยาการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ที่วิทยากรต้องรู้
- วิเคราะห์ตนเองเพื่อเตรียมเสริมสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
- วิธีการสื่อสาร และ พฤติกรรม , บุคลิกภาพ ที่ทำให้การสอนงานดีขึ้น
ส่วนที่ 3: เตรียมตัวเป็น “วิทยากร”
- กับดักความคิดและการก้าวข้าม
- การเตรียมขั้นตอน กระบวนการในการสอน
- การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเป็นวิทยากร
ส่วนที่ 4: การพัฒนาแผนการสอน
- การเตรียมแผนการสอนงาน
- เทคนิคการวางแผนการสอน
- ฝึกปฏิบัติตามโจทย์อย่างเข้มข้น
กิจกรรรมและ Workshop สำหรับการฝึกอบรม
WORKSHOP ผลที่คาดว่าจะได้รับ
Workshop 1 : วิทยากรกับองค์กร
- บทบาท,หน้าที่ ของวิทยากรภายใน
- คุณสมบัติที่ดีของวิทยากรภายใน
- สำรวจตัวเองเพื่อก้าวข้ามส่งมอบคุณค่าภายในให้องค์กร
- ได้แนวทางในการนำไปใช้เชื่อมโยงในการทำงาน
Workshop 2 :Trainer Competencies
- จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับวิทยากร
- ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์การเรียนรู้แบบต่าง ๆ ของผู้เรียน
- ทักษะที่จำเป็นของวิทยากร , การสื่อสาร ,บุคลิกภาพ , เครื่องมือ
- เรียนรู้หลัก CVD ในการสอน
- ได้วิธีการสอนงานไปเชื่อมโยงในการทำงานอย่างยั่งยืน
Workshop 3: การพัฒนาแผนการสอน
- วิทยากรอธิบายแนวทางการ ออกแบบแผนการสอน Lesson Plan
- ผู้เข้าอบรมฝึกออกแบบแผนการสอน ตาม ขั้นตอน
- ได้แนวทาง การออกแบบแผนการสอนไปปรับใช้ในการทำงาน
Workshop 4 : The Trainer
- ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมเตรียมแผนการสอนตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
- ผู้เข้าอบรมฝึกอบรมปฏิบัติแบบสอนจริงแบบเข้มข้น วิทยากรช่วยชี้แนวทาง สร้างแนวคิด กระตุ้นกระบวนการคิด เพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปปรับใช้จริงให้มากที่สุด
- ผู้เรียนได้แนวทางในการนำไปใช้เชื่อมโยงในการทำงาน
วิทยากรอธิบายสรุปการเรียนรู้
- กระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมช่วยกันนำเสนอคุณสมบัติที่ดีของหัวหน้างานเชื่อมโยง กับคุณสมบัติที่มีในตัวเอง และ เพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปพร้อมแนวทางในการปฏิบัติ
วัตถุประสงค์
- เพื่อลดปัญหาที่มาจากความขัดแย้งในการสื่อสารระหว่างกัน ภายในทีมงานและองค์กร
- เพื่อการเรียนรู้ข้อบกพร่องในการสื่อสารของมนุษย์ ที่จะนำไปสู่การขัดแย้ง
- เพื่อเพิ่มทักษะทางด้านการสื่อสารของตนเองและระหว่างบุคคลให้ดีมากขึ้นอย่างสร้างสรรค์
ระยะเวลา: 1 วัน
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ – ไม่จำกัดวุฒิภาวะ
(จะแยกกลุ่มแบ่งระดับ – หรือ ฝึกอบรมร่วมกันก็ได้)
จำนวนคน/ครั้ง ตั้งแต่ 25-35 ท่าน>
กลยุทธ์ที่ใช้
- เกมส์การเรียนรู้/กิจกรรม Role Play
- แบบฝึกหัด และ Work shop
- Power point
- อภิปรายและเปลี่ยนความคิดเห็น
เนื้อหาหัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และ การเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ผู้สื่อสารที่ดี
- เรียนรู้การทำงานของสมองกับการสื่อสาร
- ความสำคัญและความจำเป็นของการสื่อสาร
- แนวทางการสื่อสารที่ดี
ส่วนที่ 2: ส่วนประกอบ 3 ด้านของการสื่อสาร
- หลุมพรางของการสื่อสาร
- พื้นที่ของการสื่อสาร
- วิธีการสื่อสารที่ได้ทั้งใจและงาน
ส่วนที่ 3: การรู้จักการสื่อสารตามแบบของคนในแบบต่าง ๆ
- การวิเคราะห์คน 4 แบบ เพื่อยกระดับการสื่อสาร
- เทคนิคการสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา
- เทคนิคการสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชา
กิจกรรรมและ Workshop สำหรับการฝึกอบรม
WORKSHOP ผลที่คาดว่าจะได้รับ
Workshop 1 : วิเคราะห์ความคิด
- เรียนรู้การทำงานของสมองซีกซ้าย & ซีกขวา
- ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมฝึกสมองซีกซ้าย , ซีกขวา
- ฝึกการเชื่อมโยงความคิดจากสมองซีกซ้าย & ซีกขวา
- ได้แนวทางในการนำไปใช้เชื่อมโยงในการทำงาน
Workshop 2 : หลุมพรางความคิด
- วิทยากรอธิบายแนวทางการดำเนินการ
- ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์พร้อมบททดสอบทางความคิดว่ามีหลุมพรางทางความคิดไหม
- เรียนรู้แนวทางการจัดการความคิดที่เป็นกับดักและหลุมพรางให้หมดไป
- ได้วิธีการจัดการกับดักความคิดอย่างยั่งยืน
Workshop 3: การจัดระบบความคิด
- วิทยากรอธิบายแนวทางการฝึกฝนความคิด
- ผู้เข้าอบรมฝึกในความคิดแต่ละขั้น การคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
- ผู้เข้าอบรมฝึกฝน ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility )
- ผู้เข้าอบรมฝึกฝน ความคิดริเริ่ม (Originality )
- ผู้เข้าอบรมฝึกฝน ความคิด ละเอียดลออ (Elaboration)
- เรียนรู้ทักษะ การคิดวิจารณญาณ และ การคิดแก้ปัญหา
Workshop 4 : Process to Creative Thinking
- เรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือบริหารความคิด
- ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมกับเคื่องมือบริหารความคิด
- ผู้เรียนได้แนวทางในการนำไปใช้เชื่อมโยงในการทำงาน
วิทยากรอธิบายสรุปการเรียนรู้
- กระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมช่วยกันนำเสนอคุณสมบัติที่ดีของหัวหน้างานเชื่อมโยง กับคุณสมบัติที่มีในตัวเอง และ เพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปพร้อมแนวทางในการปฏิบัติ
- ผู้เรียนได้แนวทางเพิ่มเติมในการเป็นหัวหน้าที่ดี
-ถาม-ตอบ จบการสัมมนา
หลักการและเหตุผล
กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต ยิ่งเป็นการทำงานด้วยแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เคยเป็นปัญหาของตัวเอง แต่ปัญหานั้นเป็นปัญหาของทีม ดังนั้น พนักงานทุกคนจึงควรตระหนักในการทำงานร่วมกันเป็นทีมและยกระดับการคิดและการแก้ปัญหาแบบทีมอย่างเป็นระบบ และร่วมกันสร้างวิธีการแก้ปัญหาและสามารถทำให้ทีมเกิดการเรียนรู้ พร้อมกันทั้งทีม และ สามารถ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปด้วย ที่ทำให้ทีมมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา ทำให้ทีมเข้าใจความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น เห็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาจากมุมมองที่ต่างกัน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในกระบวนการแก้ปัญหา
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการแก้ปัญหาผ่านกระบวนการ Action Learning
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้เทคนิค เครื่องมือ และวิธีการต่าง ๆ คิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
ระยะเวลา : 1วัน
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานทุกระดับ / หัวหน้างาน และผู้บริหารระดับสูง
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 20 ท่าน+++
กลยุทธ์ในการฝึกอบรม :
- เกมส์การเรียนรู้ /กิจกรรม
- แบบฝึกหัด และ WORK SHOP
- Powerpoint
- อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
หัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และการเรียนรู้
ส่วนที่ 1: ความสำคัญของกาคิดชิงวิเคราะห์และหลุมพรางของการคิด
- หลุมพรางทางความคิด
- กระบวนการ ก้าวข้ามหลุมพรางทางความคิด
- เทคนิคการเท่าทันความคิดเพื่อการจัดการสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ส่วนที่ 2 : การคิดเชิงวิเคราะห์กับกระบวนการทำงาน
- กิจกรรมการฝึกฝนการวิเคราะห์การแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทำงาน
- เทคนิคการคิดวิเคราะห์ด้วย 8 D
- ทักษะการแก้ปัญหาแบบเป็นขั้นตอนด้วยหลักการ PDCA
ส่วนที่ 3 : กระบวนการแก้ปัญหา ด้วย Action Learning Problem solving
- เทคนิคการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการ Action Learning
- ฝึกฝนการแก้ปัญหา ผ่าน Competency ขององค์กร
- การสะท้อนกระบวนการทั้งหมดด้วยการตั้งคำถาม
การฝึกอบรมในรูปแบบของการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ( Adult Learning ) ทำให้ผู้เรียนรู้สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที เพราะได้ดำเนินการคิดร่วมกันระหว่างการฝึกอบรม
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนานและเข้าใจง่าย
- การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
- Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
- การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น
- Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ
- กำหนดแนวทางให้ผู้เข้าฝึกอบรม ได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนตัวเองทั้งด้านความคิด ความรู้สึกและการกระทำ โดยการพัฒนาตัวเอง ด้วยการฝึกฝนจนกลายเป็นธรรมชาติ
- การบ้านที่เป็นเป้าหมาย สามารถนำไปจัดทำเป็นโครงการในแง่ส่วนบุคคล และ/หรือ ทีม ที่เหมาะสมตามที่ตัวเองเลือก
- วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและสร้างทักษะการฟังเชิงลึกอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้เข้าอบรม
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กรและการดำเนินชีวิต
- เพื่อที่จะสามารถเชื่อมโยงและนำทักษะการฟังที่ถูกต้องไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อสร้างบรรยากาศสันติสุขและความรื่นรมย์ในการทำงานและการดำเนินชีวิต
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมโดยเฉพาะผู้บริหารได้เรียนรู้ทักษะการฟังอย่างถูกต้อง
ระยะเวลา : 1 วัน ( 6 ชั่วโมง)
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานทุกระดับ/หัวหน้างาน/ผู้บริหารระดับสูง
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 ท่าน+++
กลยุทธ์การฝึกอบรม
- Workshop Role Play
- Powerpoint
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสะท้อนมุมมอง
- Dialogue
เนื้อหาหัวข้อการบรรยาย ฝึกอบรม และ การเรียนรู้
ส่วนที่ 1 : Listening
- การฟังคืออะไร?
- แล้วทำไมต้องฟัง?
- เราฟังกันครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ?
ส่วนที่ 2 : Space Listening
- อุปสรรคที่ทำให้เกิดการฟังไม่ได้
- เรียนรู้เท่าทันอารมณ์เพื่อที่จะฟัง
- 3 เทคนิคการสร้างพื้นที่การฟังที่ดี
ส่วนที่ 3 : เทคนิคการฟังที่ดี ด้วย Dialogue
- 6 Process to Dialogue
- ภาวะผู้นำกับการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
- ฟังแบบไหนให้ได้ใจและได้งาน
ส่วนที่ 4 : เคล็ด(ไม่)ลับ ในการฟังเชิงลึกอย่างมีประสิทธิภาพ
- การฟังเชิงลึกกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น อย่างมีความสุข
- เทคนิคการบริหารทีมงานโดยการฟัง
กิจกรรมและ Workshop สำหรับการฝึกอบรม
WORKSHOP ผลที่คาดว่าจะได้รับ
Workshop 1 : ความเชื่อ
- วิทยากรอธิบายแนวทางการดำเนินการ
- ผู้เข้าอบรมร่วมกิจกรรมค้นหา ความหมายของการฟังที่แท้จริง
- เรียนรู้และเข้าใจว่าทำไมเราถึงไม่สามารถฟังกันได้อย่างจริง ๆ
- ได้แนวทางในการนำไปใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต
Workshop 2 : Save Zone Listening
- วิทยากรอธิบายแนวทางการดำเนินการเรียนรู้ตัวเองเชิงลึก
- ผู้เข้าอบรมร่วมกระบวนการเพื่อรู้จักพื้นที่ที่แท้จริงในการฝึกฟัง
- ผู้เข้าอบรมได้เห็นองค์ประกอบหลักในการฟังเชิงลึกอย่างชัดเจน
- ได้แนวทางในการนำไปใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
Workshop 3: Process to Dialogue
- วิทยากรอธิบายแนวทางการปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรมในการฟัง
- ผู้เข้าอบรมฝึกสะท้อนตัวเองกับเพื่อนร่วมงานเพื่อหาแนวทางปรับใช้
- ผู้เข้าอบรมได้แนวทางในการยกระดับความสัมพันธ์อย่างถูกต้องพร้อมนำไปใช้ได้จริง
Workshop 4: Dialogue for Leadership
- วิทยากรอธิบายการเรียนรู้เทคนิคการหัวสำหรับผู้นำ
- ฝึกฝนกระบวนการ Process to Success ในการฟังอย่างต่อเนื่อง
- ผู้เรียนได้แนวทางเพิ่มเติมในการเพื่อนร่วมงานที่ดีพร้อมนำไปใช้ได้จริง
จบการสัมมนา ถาม&ตอบ