•1.ชี้แจงหัวข้อการประเมินตั้งแต่ต้นปี ซึ่งควรจะเป็นช่วงเดือนแรกของปี อธิบายให้ละเอียด เอาให้ครบ
•2.อธิบายเกณฑ์ให้ลูกน้องเข้าใจเอากันให้รู้เรื่องทั้ง 2 ฝ่าย ให้รู้ดำรู้แดงกันไป อย่าทำผ่าน ๆ แบบพิธีกรรม ที่ต้องทำทุกปีแบบไม่ใส่ใจ
•3.ควรประเมินผลงานเป็นรายไตรมาสทีผ่านมาเป็นไงไม่รู้ รู้แต่ว่า เราควรเช็คระดับความสามารถอยู่ตลอด เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
•4.Feedback กันเป็นวัฒนธรรม ไม่ใช่ทำปีละหนเรื่องนี้หลายที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญและใส่ใจ คิดแค่ว่า มันโต ๆ กันแล้วน่าจะรู้เรื่อง เอาจริง ๆ นะ ถ้าทันรู้เรื่องเองได้ เราคงไม่ต้องมานั่งปวดกบาล ที่ผลงานไม่ถึงเป้าว่าไหม
•5.Feedback เชิงสร้างสรรค์เราต้องให้คำแนะนำเพื่อไปต่อ มีความต้องการช่วยเหลือเพื่อให้เขาทำงานต่อไปได้ ไม่ใช่ตำหนิ ติเตียน หาคนทำผิดพลาด จนแทบไม่ต้องกล้าทำอะไรเลย
•6.เจาะจงพฤติกรรมที่ต้องการให้ปรับปรุงให้ชัดเจนผลงานที่ดีและไม่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่ที่ความสามารถอย่างเดียว แต่มันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคน ๆ นั้นด้วยเช่นกัน
•7.มีแผนพัฒนาลูกน้องรายบุคคลหลังการ Feedbackระบุความช่วยเหลือ และทางเลือก ให้ชัด ทำให้มองเห็นความคาดหวังและเป้าหมายร่วมกันให้ได้
•8.ประสานงานกับ HR เพื่อสร้างแผนพัฒนาลูกทีมมีทีมคอยช่วยเหลือเรา ต้องใช้ให้คุ้ม ถ้าไม่รู้ก็หัดไปคุย สื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้และความต้องการของเรา เขาจะได้หาทางช่วยเหลือเราได้เหมาะสม
•9.ให้คำปรึกษาและติดตามผลเป็นระยะ ๆการคอยติดตามผลและสื่อสารเพื่อทราบเป็นสิ่งที่เราควรทำ เผื่อมีอะไรไม่ชอบมาพากล จะได้ช่วยเหลือทัน
•10.ชื่นชมเมื่อเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นสิ่งเล็กที่เรียกว่ารัก เป็นพลังงานที่ยิ่งใหญ่เสมอ การคอยให้กำลังใจกัน เป็นเรื่องที่สมควรทำ และ ผลลัพธ์ของมันมักยิ่งใหญ่เสมอ
•เผื่อจะเป็นประโยชน์นะครับ•
เรียนรู้เพื่อเติบโตครับ “ง่าย คือ งาม”
ครูอ๊อฟ วิทยากรที่ปรึกษาด้านการพัฒนาคนและองค์กร